วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Mastering Occupational Safety Health & Environment Act One Day Workshop 2016






"กฏหมายความปลอดภัยแรงงานฯ” เจาะลึกข้อบังคับและกลยุทธ์ป้องกันปัญหาฯ

2 February 2016 @ Sheraton Grande Sukhumvit

Handling & Compliance with 'Occupational Safety Health and Environment Act B.E. 2554' 
Legal Issues, Obligation & Potential Liability of Employers




เรียนรู้กับผู้ชำนาญของกระทรวงแรงงานว่าด้วยพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน .ศ. ๒๕๕๔ โดยเฉพาะพื้นฐานข้อกฎหมาย, ประเด็นสำคัญและกลยุทธ์ และการบริหารจัดการ พร้อมด้วยนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญที่จะร่วมกันอภิปรายเจาะลึกในแนวทางที่นำไปปฏิบัติจริง และให้คำปรึกษาที่ตรงสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา

•    MINISTRY OF LABOUR | Ms. Suwadee  Thaweesuk, Director of Occupational Safety and Health Standard Development, Occupational Safety and Health Bureau, Department of Labour Protection and Welfare
•    ES COUNSEL | Mr. Kreangkri  Jiamboonsri, Executive Partner

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน .ศ. 2554 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานได้มีผลบังคับใช้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบการทั้งนายจ้าง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน เจ้าหน้าที่ปลอดภัยในการทำงาน และผู้รับเหมาช่วงงาน ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา 
โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติ ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และมีบทลงโทษกรณีละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ดยมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 8 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นายจ้าง/ ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ จะต้องมีความเข้าใจในข้อกำหนด ของพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ในการวางมาตรการควบคุม กำกับ ดูแลและบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเหมาะสม

ประเด็นสำคัญที่นายจ้างควรเรียนรู้เพื่อจัดการให้สอดคล้องกับกฏหมายความปลอดภัยแรงงานฯ
•    พื้นฐานข้อกฎหมายตามว่าด้วยพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
•    ประเด็นสำคัญในการดำเนินการตามว่าด้วยพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
•    กลยุทธ์และการบริหารจัดการตามว่าด้วยพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
•    การประเมินผลและการยกระดับความสำเร็จของมาตรการความปลอดภัยในสถานประกอบการ
•    การบริหารจัดการเพื่อยกระดับความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
•    ความเสี่ยง ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิผล

ONE DAY INTENSIVE LEARNING AGENDA | 2 FEBRUARY

SESSION 1 ทำไมจึงต้องควบคุมอุบัติเหตุและโรคอันเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน
•    ประเด็นปัญหาความความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
•    แนวโน้มและความรุนแรง ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและสังคม
 
SESSION 2 สาระสำคัญของพรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
•    ความเป็นมาของกฏหมาย เจตนารมณ์ของการบังคับใช้กฎหมาย
•    วิเคราะห์ เจาะลึก ตีความรายมาตราที่สำคัญ
•    กฎหมายลำดับรอง
•    โทษของการฝ่าฝืน
 
SESSION 3 บทบาทของพนักงานตรวจความปลอดภัยที่เกี่ยวกับนายจ้าง เมื่อนายจ้างได้รับคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยแล้วต้องทำอย่างไรจะฝ่าฝืนได้หรือไม่  
•    ผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายฉบับนี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติในเรื่องใดบ้าง
•    ใครบ้างที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามตามกฎหมายฉบับนี้ (นายจ้าง/ ผู้บริหาร/ หัวหน้างาน/ จป./ พนักงาน/ ผู้รับเหมาช่วง)
•    เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจสั่งการ หรือเข้าไปดำเนินการในสถานประกอบการในเรื่องใดบ้าง
 
SESSION 4 นายจ้างต้อง รู้อะไรบ้าง  และอย่างไร  เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง
•    ประเด็นปัญหาตัวอย่างความผิดจากการละเว้นไม่ปฏิบัติ
•    หากละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมีบทลงโทษอย่างไร
•    ทำอย่างไรไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษทางอาญา จำคุกสูงสุด 2 ปี ถูกปรับถึง 1,000,000 บาท หรือถูกปรับ 5,000 บาท/ วัน
•    การลดหย่อนผ่อนโทษทางอาญาทำได้หรือไม่ อย่างไร
•    ใครมีสิทธิ์กู้ยืมเงิน หรือได้รับการช่วยเหลืออุดหนุนจากกองทุนความปลอดภัยฯ
•    แนะนำเทคนิค แนวปฏิบัติในการจัดระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
 
SESSION 5 ทำอย่างไรจึงจะสร้าง และปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างยั่งยืน กรอบความคิดเชิงระบบ กระบวนการ และวัฒนธรรมองค์กร
•    ภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อยกระดับความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
•    การพัฒนานโยบายและมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (HSEQ) ให้ไปในทิศเดียวกับการดำเนินธุรกิจ
•    การวางแผนความปลอดภัยของอุตสาหกรรมและสุขภาพ
•    การวางแผนกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
•    ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัย ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
•    ข้อบังคับเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
•    การสืบสวนการเกิดเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
•    การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
•    การจัดการและการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงาน
•    การสร้างความเชื่อมั่นที่จะไม่เกิดเหตุอันตรายในสถานประกอบการ
•    การสร้างภาวะผู้นำในด้านความปลอดภัยในทุกระดับการทำงาน

SESSION 6 การวัด การประเมินผลและการยกระดับความสำเร็จของมาตรการความปลอดภัยในสถานประกอบการ
•    การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและการบริหารจัดการสุขภาพของแรงงาน
•    การประเมินความมีประสิทธิผลในการใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันอันตราย
•    การวัดผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบ
•    การใช้นวัตกรรมเพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บในที่ทำงาน บนถนนและการขนส่ง
.................................................................................................................................................................


..................................................................................................................................................................






ข้อมูลเพิ่มเติม:
สถาบันวิจัยโอเมก้าเวิลด์คลาส


6 6 - 2 - 2 7 5 4 5 1 1
6 6 - 2 - 6 9 3 1 4 7 4
6 6 - 8 - 9 6 9 2 9 9 0 0